บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จากัด (มหาชน) หรือ GGC ก้าวสู่บริษัทชั้นนำด้านองค์กรความอย่างยั่งยืนอีกขั้น ล่ำสุดขึ้นสู่ระดับโลกเป็นปีแรก นับเป็นบริษัทหนึ่งเดียวในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมี และธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมี เพื่อสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับที่การจัดอันดับจาก United Nations Global Compact หรือ UN Global Compact โดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations; UN) เป็น 1 ใน 41 องค์กรระดับโลกให้อยู่ในระดับสูงสุด (LEAD) ในฐานะองค์กรสมาชิกที่สามารถดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีนโยบายให้สอดคล้องกับหลักการที่เป็นสากล ”
นายสุวัฒน์ กมลพนัส กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จากัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากความ มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจโดยคำนึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อก้าวไปสู่องค์กรแห่งความ ยั่งยืน ภายใต้วิสัยทัศน์ “ เป็นผู้นำผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม พร้อมขับเคลื่อนพลังแห่งการสร้างสรรค์ เพื่อคุณค่าที่ยั่งยืน” มาอย่างต่อเนื่องกว่า 4 ปี ส่งผลให้ในปี 2020 GGC ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในระดับสูงสุด (LEAD) ในฐานะสมาชิกที่ปฏิบัติตามข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติโดย GGC ได้นำแนวคิดเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน มาวางกลยุทธ์และนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ยกระดับมาตรฐานการทำธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล มุ่งขยายผลไปยัง ห่วงโซ่อุปทาน ดำเนินงานตามหลักการสากล 10 ประการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย SDGs ของโลกที่ครอบคลุม 4 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ เรื่องสิทธิมนุษยชน (Human Rights) เรื่องแรงงาน (Labour) เรื่องสิ่งแวดล้อม (Environment) และเรื่องการต้านทุจริต (Anti-Corruption) รวมไปถึงการดำเนินแผนงานที่เกี่ยวข้องกับด้านสังคม นับเป็นความสำเร็จที่ เกิดจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหารและการร่วมแรงร่วมใจของพนักงานทุกคนที่มีเป้าหมายชัดเจนในการกำหนดกลยุทธ์ในการ พัฒนาองค์กรและดำเนินการเพื่อก้าวไปสู่ความยั่งยืน
โดยผู้บริหารของ GGC มีโอกาสได้ร่วมแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ในการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ต่อสมาชิกสหประชาชาติ ในหัวข้อShaping our Working Poverty ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงการขจัดความยากจนในห่วงโซ่อุปทาน โดย GGC ได้แบ่งปันประสบการณ์ความรู้ความเข้าใจในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทฯ การแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ในครั้งนี้ มีผู้บริหารจากภาคธุรกิจเอกชนจากหลากหลายประเทศ เช่น ประเทศอิตาลี ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศเคนย่า ร่วมแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์และความร่วมมือการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน แห่งสหประชาชาติ
เรื่องสิทธิมนุษยชน (Human Rights) บริษัทฯ ได้มีการกำหนดนโยบาย ด้านสิทธิมนุษยชน และกระบวนการติดตามสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน เพื่อสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากกิจกรรมของบริษัทฯ ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนผ่านการดำเนินธุรกิจที่เป็นธรรม และ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าและป้องกันผลกระทบทางลบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกกลุ่ม
เรื่องแรงงาน (Labour) พนักงาน คือ ทรัพยากรหลักที่สำคัญของบริษัทฯ ในการขับเคลื่อนธุรกิจให้บรรลุ เป้าหมายของบริษัทฯ จึงใส่ใจมุ่งเน้นการบริหารจัดการพนักงานให้ครอบคลุมการพัฒนาความรู้ความสามารถ การสนับสนุนความก้าวหน้าในอาชีพของพนักงาน การไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของพนักงานและการคำนึงถึง สภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีของพนักงาน การไม่เลือกปฏิบัติในเรื่องการจ้างงาน อันนำธุรกิจไปสู่การเป็นผู้นำด้านการ ผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อมที่เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน
เรื่องสิ่งแวดล้อม (Environment) บริษัทฯ บริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้นโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อมและความต่อเนื่องทางธุรกิจ และนโยบายการบริหารจัดการด้านการอนุรักษ์ พลังงาน รวมทั้งดำเนินงานตามกฏหมายข้อบังคับและมาตรฐานทั้งในระดับประทศและระดับสากล เพื่อลดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม ชุมชนและสังคมตลอดห่วงโซ่คุณค่า
เรื่องการต้านทุจริต (Anti-Corruption) บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลกิจการอย่างยั่งยืน โดยดำเนินงานตามหลักจรรยาบรรณธุรกิจ และแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน มุ่งมั่นยกระดับให้การกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยคำนึงถึงความเชื่อมั่น และความน่าเชื่อถือต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้มีการวางกลยุทธ์ในการบริหารจัดการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ได้แก่ “3 Big Moves Strategy” คือ การยอมรับ (Recognition) ซึ่งมุ่งเน้นการขยายการรับรู้ในการดำเนินงานด้านความ รับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทฯ ต่อผู้มีส่วนได้เสียในวงกว้าง การเติบโต (Growth) ขยายความสามารถในการดำเนินงาน ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทฯ เพื่อแก้ไขปัญหำสังคมหรือตอบสนองความต้องการของสังคมผ่านกระบวนการ ทางธุรกิจ ความเชื่อใจ (Trust) สร้างความเชื่อมั่นและความพึงพอใจในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
United Nations Global Compact หรือ UN Global Compact โดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations; UN) ก่อตั้งขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกำ ส่งเสริมให้องค์กรทุกภาคส่วนทั่วโลกตระหนักและร่วมกันนำแนวคิดเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในแต่ละประเทศ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ทรงพลัง ยกระดับมาตรฐานการทำธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาลโดยเน้นแกนหลัก 4 ด้าน คือ สิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงานสิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริต