สถานการณ์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบ 4 เดือนของปี 2564 (มกราคม-เมษายน)

31 พฤษภาคม 2564 10.00 น.
อ่าน 1,801 ครั้ง
 
สถานการณ์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบ 4 เดือนของปี 2564 (มกราคม-เมษายน)

นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวถึงภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยต่อวันรอบ 4 เดือนของปี 2564 (มกราคม-เมษายน) ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.5 โดยสาเหตุหลักมาจากการใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) ที่ลดลงร้อยละ 64.8 สำหรับการใช้กลุ่มเบนซินเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 กลุ่มดีเซลเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 น้ำมันเตาเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 น้ำมันก๊าดลดลงร้อยละ 4.7 LPG เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 และ NGV ลดลงร้อยละ 23.6

การใช้น้ำมันกลุ่มเบนซินเดือนมกราคม-เมษายน 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 30.8 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5) โดยปริมาณการใช้กลุ่มแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 30.1 ล้านลิตร/วัน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.8) ในขณะที่การใช้น้ำมันเบนซินลดลงมาอยู่ที่ 0.7 ล้านลิตร/วัน (ลดลง ร้อยละ 9.0)

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาการใช้กลุ่มเบนซินเฉพาะเดือนเมษายน 2564 พบว่าการใช้ลดลงมาอยู่ที่ 29.9 ล้านลิตร/วัน เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (เดือนมีนาคม 2564 อยู่ที่ 33.9 ล้านลิตร/วัน) โดยเป็นการลดลงของกลุ่มเบนซินทุกชนิด เนื่องจาก การแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอก 3 ที่ทำให้ภาครัฐต้องออกมาตรการควบคุมพื้นที่ ซึ่งส่งผลต่อความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
การใช้น้ำมันกลุ่มดีเซลเดือนมกราคม-เมษายน 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 66.8 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0) สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี7 มีปริมาณการใช้ลดลงมาอยู่ที่ 39.7 ล้านลิตร/วัน (ลดลง ร้อยละ 18.7) น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา ซึ่งเริ่มจำหน่ายตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2562 มีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 23.8 ล้านลิตร/วัน และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 มีปริมาณการใช้อยู่ที่ 1.1 ล้านลิตร/วัน

การใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เฉลี่ยอยู่ที่ 4.9 ล้านลิตร/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (ลดลงร้อยละ 64.8) เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยวและการเดินทางโดยเครื่องบิน ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
การใช้ LPG เฉลี่ยอยู่ที่ 16.2 ล้านกก./วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8) โดยปริมาณการใช้ ในภาคปิโตรเคมีขยายตัวและมีการใช้มากที่สุดอยู่ที่ 6.8 ล้านกก./วัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5) ถัดมาเป็นภาคอุตสาหกรรมมีการใช้อยู่ที่ 1.9 ล้านกก./วัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0) และภาคครัวเรือนมีการใช้อยู่ที่ 5.7 ล้านกก./วัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2) ขณะที่ภาคขนส่งมีการใช้ลดลงมาอยู่ที่ 1.8 ล้านกก./วัน (ลดลง ร้อยละ 13.5)
การใช้ NGV เฉลี่ยอยู่ที่ 3.3 ล้านกก./วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (ลดลงร้อยละ 23.6) โดยเป็นผลต่อเนื่องจาก การแพร่ระบาดของ COVID-19 ประกอบกับจำนวนสถานีบริการและรถ NGV ที่ลดลง

การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงเดือนมกราคม-เมษายน 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 914,677 บาร์เรล/วัน ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ลดลงร้อยละ 7.5) โดยการนำเข้าน้ำมันดิบลดลงมาอยู่ที่ 872,568 บาร์เรล/วัน (ลดลงร้อยละ 8.0) มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 49,185 ล้านบาท/เดือน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2) สำหรับการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป (น้ำมันเบนซินพื้นฐาน น้ำมันดีเซลพื้นฐาน น้ำมันเตา น้ำมันอากาศยาน และ LPG) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 42,109 บาร์เรล/วัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8) คิดเป็นมูลค่านำเข้ารวม 2,541 ล้านบาท/เดือน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.3) โดยมูลค่าการนำเข้าที่สูงขึ้นนั้นเป็นผลจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปี 2564

การส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเดือนมกราคม-เมษายน 2564 เป็นการส่งออกน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซลพื้นฐาน น้ำมันเตา น้ำมันอากาศยาน น้ำมันก๊าด และ LPG โดยปริมาณส่งออกลดลงมาอยู่ที่ 170,163 บาร์เรล/วัน (ลดลงร้อยละ 8.8) คิดเป็นมูลค่าส่งออกรวม 10,262 ล้านบาท/เดือน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0)สถานการณ์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบ 4 เดือนของปี 2564 (มกราคม-เมษายน)
นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวถึงภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยต่อวันรอบ 4 เดือนของปี 2564 (มกราคม-เมษายน) ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.5 โดยสาเหตุหลักมาจากการใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) ที่ลดลงร้อยละ 64.8 สำหรับการใช้กลุ่มเบนซินเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 กลุ่มดีเซลเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 น้ำมันเตาเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 น้ำมันก๊าดลดลงร้อยละ 4.7 LPG เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 และ NGV ลดลงร้อยละ 23.6

การใช้น้ำมันกลุ่มเบนซินเดือนมกราคม-เมษายน 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 30.8 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5) โดยปริมาณการใช้กลุ่มแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 30.1 ล้านลิตร/วัน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.8) ในขณะที่การใช้น้ำมันเบนซินลดลงมาอยู่ที่ 0.7 ล้านลิตร/วัน (ลดลง ร้อยละ 9.0)

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาการใช้กลุ่มเบนซินเฉพาะเดือนเมษายน 2564 พบว่าการใช้ลดลงมาอยู่ที่ 29.9 ล้านลิตร/วัน เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (เดือนมีนาคม 2564 อยู่ที่ 33.9 ล้านลิตร/วัน) โดยเป็นการลดลงของกลุ่มเบนซินทุกชนิด เนื่องจาก การแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอก 3 ที่ทำให้ภาครัฐต้องออกมาตรการควบคุมพื้นที่ ซึ่งส่งผลต่อความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
การใช้น้ำมันกลุ่มดีเซลเดือนมกราคม-เมษายน 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 66.8 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0) สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี7 มีปริมาณการใช้ลดลงมาอยู่ที่ 39.7 ล้านลิตร/วัน (ลดลง ร้อยละ 18.7) น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา ซึ่งเริ่มจำหน่ายตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2562 มีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 23.8 ล้านลิตร/วัน และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 มีปริมาณการใช้อยู่ที่ 1.1 ล้านลิตร/วัน

การใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เฉลี่ยอยู่ที่ 4.9 ล้านลิตร/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (ลดลงร้อยละ 64.8) เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยวและการเดินทางโดยเครื่องบิน ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
การใช้ LPG เฉลี่ยอยู่ที่ 16.2 ล้านกก./วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8) โดยปริมาณการใช้ ในภาคปิโตรเคมีขยายตัวและมีการใช้มากที่สุดอยู่ที่ 6.8 ล้านกก./วัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5) ถัดมาเป็นภาคอุตสาหกรรมมีการใช้อยู่ที่ 1.9 ล้านกก./วัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0) และภาคครัวเรือนมีการใช้อยู่ที่ 5.7 ล้านกก./วัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2) ขณะที่ภาคขนส่งมีการใช้ลดลงมาอยู่ที่ 1.8 ล้านกก./วัน (ลดลง ร้อยละ 13.5)
การใช้ NGV เฉลี่ยอยู่ที่ 3.3 ล้านกก./วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (ลดลงร้อยละ 23.6) โดยเป็นผลต่อเนื่องจาก การแพร่ระบาดของ COVID-19 ประกอบกับจำนวนสถานีบริการและรถ NGV ที่ลดลง

การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงเดือนมกราคม-เมษายน 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 914,677 บาร์เรล/วัน ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ลดลงร้อยละ 7.5) โดยการนำเข้าน้ำมันดิบลดลงมาอยู่ที่ 872,568 บาร์เรล/วัน (ลดลงร้อยละ 8.0) มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 49,185 ล้านบาท/เดือน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2) สำหรับการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป (น้ำมันเบนซินพื้นฐาน น้ำมันดีเซลพื้นฐาน น้ำมันเตา น้ำมันอากาศยาน และ LPG) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 42,109 บาร์เรล/วัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8) คิดเป็นมูลค่านำเข้ารวม 2,541 ล้านบาท/เดือน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.3) โดยมูลค่าการนำเข้าที่สูงขึ้นนั้นเป็นผลจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปี 2564

การส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเดือนมกราคม-เมษายน 2564 เป็นการส่งออกน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซลพื้นฐาน น้ำมันเตา น้ำมันอากาศยาน น้ำมันก๊าด และ LPG โดยปริมาณส่งออกลดลงมาอยู่ที่ 170,163 บาร์เรล/วัน (ลดลงร้อยละ 8.8) คิดเป็นมูลค่าส่งออกรวม 10,262 ล้านบาท/เดือน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0)
 
 
- Advertisement -
- Advertisement -

RELATED

- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -

Lasted

  • MEA ชูพลังงานสะอาด เปิดสถานีชาร์จ EV ณ MRT ศูนย์วัฒนธรรมฯ ขับเคลื่อนอนาคตการเดินทางไร้มลพิษ
    21 พ.ย. 2567 12.00 น.
  • "ไทยออยล์" เผยกลยุทธ์ธุรกิจปี 2568 พร้อมเร่งบริหารจัดการโครงการ CFP
    21 พ.ย. 2567 11.18 น.
  • ‘พีระพันธุ์’ แจ้งข่าวดี!! ก.พลังงาน สร้างปรากฎการณ์ใหม่
    21 พ.ย. 2567 10.34 น.
  • WHA Group เปิดบ้านครั้งแรก ชวนร่วมงาน WHA Open House 2024 : Explore -Discover – Shape the Future โชว์ศักยภาพธุรกิจ
    20 พ.ย. 2567 16.48 น.
  • ผลประกอบการ ปตท. ยังแข็งแกร่ง รุกธุรกิจคาร์บอนต่ำ หนุนเติบโตรับกระแสพลังงานโลก
    19 พ.ย. 2567 17.17 น.

Most Viewed

  • "อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์" คว้าสุดยอดผู้นำองค์กรแห่งปี
    20 มิ.ย. 2566 21.47 น.
  • 54 ปี กฟผ. เดินหน้าผลิตไฟฟ้าสีเขียว รุกขยายโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดในเขื่อน
    01 พ.ค. 2566 09.50 น.
  • ‘ผลิต-ไฟฟ้าลาว’ มั่นใจผลงานปีนี้เติบโตเด่น รับดีมานด์ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าในภูมิภาคเพิ่ม
    03 พ.ค. 2566 13.56 น.
  • แม่ฮ่องสอน..สู่เมืองท่องเที่ยวสีเขียว ชู "โซลาร์ฟาร์มสมาร์ทกริด" พร้อมจ่ายไฟเชิงพาณิชย์แล้ววันนี้
    25 พ.ค. 2566 17.14 น.
  • 3 การไฟฟ้าจัดใหญ่ ครั้งแรกของโชว์สุดยอดนวัตกรรม ตอบโจทย์ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า
    12 มิ.ย. 2566 17.47 น.