รู้หรือไม่...กพช.เห็นชอบแนวทางการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ
และเตรียมพร้อมโครงสร้างพื้นฐานรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า
ทบทวนโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่เพื่อใช้ในปี 64-68 อย่างไรบ้าง ?
ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเห็นชอบนโยบายสำคัญ ดังนี้ :
ด้านก๊าซธรรมชาติ
1. เห็นชอบแนวทางการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังต่อไปนี้
1) กลุ่มที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ตามแนวทางที่คณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) และ กพช.กำหนด (Regulated Market) ประกอบด้วย ผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติจากตลาดเก่า( Old Supply) และผู้นำเข้า (Shipper) ที่จัดหาก๊าซธรรมชาติเหลว ( LNG )เพื่อนำมาใช้กับภาคไฟฟ้าที่ขายเข้าระบบ โดยจะมาจากแหล่งในประเทศ (รวมพื้นที่พัฒนาร่วม ไทย-มาเลเซีย : JDA) แหล่งจากเมียนมา และ LNG ที่นำเข้าสัญญาระยะยาว ที่ปตท.ทำไว้แล้วมีปริมาณ 5.2 ล้านตัน/ปี รวมทั้งกำหนดให้ก๊าซในอ่าวไทยต้องนำมาใช้ในโรงแยกก๊าซก่อน และให้ ปตท. เปิดประมูล LNG Spot Flexible ราคาถูกกว่า Pool Gas ภายใต้กำกับ ของ กกพ. ทั้งด้านปริมาณและเงื่อนไข ซึ่งจะทำให้ค่าไฟฟ้าทั้งระบบมีราคาต่ำลง เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
2) กลุ่มที่จัดหา LNG เพื่อใช้กับโรงไฟฟ้าที่ไม่ได้ขายไฟฟ้าเข้าระบบ ภาคอุตสาหกรรมและกิจการของตนเอง (Partially Regulated Market) ซึ่งเป็น Shipper รายใหม่ที่จัดหา LNG ให้กับโรงไฟฟ้าตนเองหรือใช้ในภาคอุตสาหกรรม นอกเหนือจากตลาดเก่า ( Old Supply ) ภายใต้การกำกับของ กกพ. ด้านปริมาณและคุณภาพการให้บริการ และกำหนดให้ LNG Terminal และท่อส่งก๊าซฯ เปิดให้บุคคลที่ 3 เข้ามาใช้และเชื่อมต่อได้ พร้อมทั้งกำหนดให้ ปตท. แยกธุรกิจท่อเป็น TSO เป็นนิติบุคคล ให้แล้วเสร็จภายใน 15 เดือน
ด้านไฟฟ้า
ปี พ.ศ. 2564 – 2568 และกรอบแนวทางการจัดทำโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า เพื่อให้ กกพ. ไปจัดทำรายละเอียดในการกำกับดูแลและกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน เพื่อให้การกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าสะท้อนต้นทุนในการให้บริการของกิจการไฟฟ้าอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม เพื่อให้โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงบริบทของอุตสาหกรรมไฟฟ้า อันเกิดจากนโยบายและยุทธศาสตร์ของประเทศ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต และเพื่อให้โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้ามีความเกื้อหนุนต่อการรักษาประสิทธิภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศโดยรวม