กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ - APEC ร่วมสนับสนุน CCUS ลดภาวะโลกร้อน

25 มีนาคม 2568 19.05 น.
อ่าน 1,420 ครั้ง
 

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ร่วมกับ APEC จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติภายใต้โครงการ “Capacity Building Role on CCUS Development in APEC Economies for Sustainable Development Goal” มุ่งส่งเสริม สนับสนุนเทคโนโลยี CCUS ลดภาวะโลกร้อน

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติโดยการสนับสนุนจาก APEC (Asia – Pacific Economic Cooperation) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติ ภายใต้โครงการ “Capacity Building Role on CCUS Development in APEC Economies for Sustainable Development Goal” ระหว่างวันที่ 25 - 26 มีนาคม 2568 ณ โรงแรม Pullman King Power กรุงเทพฯ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการดักจับการใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization, and Storage: CCUS) ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดังกล่าวทั้งภาครัฐ และเอกชนรวมถึงสถาบันการศึกษาจากหลายประเทศเข้าร่วมงานกว่า 100 คน

 

 

นายวรากร พรหโมบล อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า เนื่องจากปัญหาสภาวะโลกร้อนที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งประเทศไทย ได้ประกาศเป้าหมายไว้ในการประชุมสมัชชาประเทศภายใต้กรอบอนุ สัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ครั้งที่ 26 หรือ COP26 ว่า ประเทศไทยจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี พ.ศ.2608 ( ค.ศ. 2065)

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้คำนึงถึงความสำคัญและพร้อมสนับสนุนเป้าหมายและเจตนารมณ์ดังกล่าวในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ รวมถึงการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการค้าในอนาคต เพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำ โดยการพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับการใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization, and Storage: CCUS) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่มีประสิทธิภาพ

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐที่นอกจากจะมีภารกิจหลักในการส่งเสริม สนับสนุน และเร่งรัดการจัดหาพลังงาน โดยการส่งเสริมและเร่งรัดการสำรวจและพัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ เพื่อให้ประเทศมีพลังงานเพียงพอต่อความต้องการใช้แล้ว กรมยังให้ความสำคัญกับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปเช่นกัน โดยปัจจุบันกรมได้ศึกษา หาแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization, and Storage: CCUS) ทั้งด้านการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการดำเนินงาน การประสานความร่วมมือ ทั้งภาครัฐ เอกชนและสถานศึกษาทั้งภายในและภายนอกประเทศเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการศึกษา วิจัย และพัฒนาการดำเนินงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าว

รวมทั้งการศึกษาความเป็นไปได้และแนวทาง ด้านต่าง ๆ ในการส่งเสริมและพัฒนางานด้าน CCUS ในประเทศไทย เช่น ด้านนโยบาย กฎหมาย หรือแนวทางการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ประกอบการในการควบคุมปริมาณการปล่อยคาร์บอนจาก  การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมให้ได้ตามมาตรฐานสากล ซึ่งขณะนี้ได้มีโครงการนำร่องการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว ที่แหล่งก๊าซธรรมชาติอาทิตย์ในทะเลอ่าวไทย โดยคาดว่าจะสามารถอัดกลับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้จากการผลิตปิโตรเลียมภายในแหล่งได้ที่ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2571 เป็นต้นไป

นอกจากนี้ กรมอยู่ระหว่างการศึกษาศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนบริเวณพื้นที่อ่าวไทยตอนบน ภายใต้ความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างประเทศไทย-ญี่ปุ่น เพื่อหาและพิสูจน์พื้นที่ที่มีศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอน ซึ่งถ้าหากสามารถยืนยันศักยภาพการกักเก็บได้ อาจสามารถรองรับการอัดกลับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยจากอุตสาหกรรม ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นโครงการสำคัญที่จะช่วยยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรม ของประเทศไทยให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืนต่อไป

การประชุมเชิงปฏิบัติการในวันนี้ นับว่าจะมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยสามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านเทคโนโลยี CCUS ในภูมิภาค Asia Pacific และเป็นเวที ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ และประสบการณ์ กับผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี CCUS ในหลากหลายมุมมองทั้งด้านแนวนโยบาย กฎระเบียบ หรือปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ รวมทั้ง เพื่อให้ประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลมาปรับใช้ให้การดำเนินงานด้าน CCUS เกิดประสิทธิภาพสูงสุด” อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าว

- Advertisement -
- Advertisement -

RELATED

- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -

Lasted

  • กฟผ. – มูลนิธินายช่างไทย ใจอาสา นำทีมวิศวกรและช่างอาสา กฟผ. ลงพื้นที่ตรวจสอบโครงสร้างอาคารโรงเรียน สพฐ
    01 เม.ย. 2568 19.07 น.
  • OR เปิดร้าน found & found สาขาที่ 7 ณ พีทีที สเตชั่น พระราม 4
    01 เม.ย. 2568 10.21 น.
  • “สำนักงาน กกพ.” ยืนยันระบบไฟฟ้าไทยมั่นคงและมีเสถียรภาพ
    01 เม.ย. 2568 10.04 น.
  • พลังงาน มั่นใจ หลังให้ทุกหน่วยงานตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานไฟฟ้า - น้ำมันโดยละเอียด พร้อมสั่งการให้วางแนวทางที่เข้มข้นขึ้นป้องกันเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต
    31 มี.ค. 2568 17.32 น.
  • OR มอบน้ำมันดีเซล 2,000 ลิตร แก่ กทม. เพื่อสนับสนุนภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ตึกถล่ม
    31 มี.ค. 2568 17.20 น.

Most Viewed

  • "อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์" คว้าสุดยอดผู้นำองค์กรแห่งปี
    20 มิ.ย. 2566 21.47 น.
  • 54 ปี กฟผ. เดินหน้าผลิตไฟฟ้าสีเขียว รุกขยายโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดในเขื่อน
    01 พ.ค. 2566 09.50 น.
  • ‘ผลิต-ไฟฟ้าลาว’ มั่นใจผลงานปีนี้เติบโตเด่น รับดีมานด์ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าในภูมิภาคเพิ่ม
    03 พ.ค. 2566 13.56 น.
  • แม่ฮ่องสอน..สู่เมืองท่องเที่ยวสีเขียว ชู "โซลาร์ฟาร์มสมาร์ทกริด" พร้อมจ่ายไฟเชิงพาณิชย์แล้ววันนี้
    25 พ.ค. 2566 17.14 น.
  • 3 การไฟฟ้าจัดใหญ่ ครั้งแรกของโชว์สุดยอดนวัตกรรม ตอบโจทย์ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า
    12 มิ.ย. 2566 17.47 น.