“พลังบ้านปู ฟื้นฟูทะเลไทย” โมเดลจัดการขยะ ฟื้นฟูแม่น้ำ “บางปะกง”

24 กุมภาพันธ์ 2568 16.48 น.
อ่าน 1,972 ครั้ง

 

“เศรษฐกิจไทย” พึ่งพาทะเลในด้านประมงและการท่องเที่ยวมาอย่างยาวนาน แต่กลับติดอันดับต้น ๆ ว่าเป็นประเทศที่มีขยะไหลลงทะเลมากที่สุด โดยข้อมูลจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบุว่า ในปี 2565 ขยะจากแม่น้ำสายหลัก เช่น บางปะกงและเจ้าพระยา ไหลลงสู่อ่าวไทยกว่า 1,000 ตัน และเคยสูงถึง 2,500 ตันในปี 2561

ในปี 2565 บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในภาคีเครือข่าย “โครงการความร่วมมือในการจัดการขยะทะเลโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในบริเวณปากแม่น้ำ” นำโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย และบริษัทเอกชน โดยต่อมาได้ริเริ่มโครงการ “พลังบ้านปู ฟื้นฟูทะเลไทย” เพื่อดำเนินงานภายใต้โครงการความร่วมมือฯ และสนับสนุนแผนแม่บทการจัดการขยะทะเลระดับชาติ มีพื้นที่ดำเนินงานที่ลุ่มน้ำบางปะกงตอนล่าง ประกอบด้วย 3 อำเภอ 14 ตำบล ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอบ้านโพธิ์ และอำเภอบางปะกง ในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีระยะเวลาดำเนินงานระหว่างปี 2566 ถึงปี 2569

  • ปัญหาขยะสะสมในพื้นที่กว่า 6 พันตัน/ปี
 
 

          นายนริศ นิลประสิทธิ์ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลท่าข้าม อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา เผยว่า ที่ผ่านมาปัญหาขยะมูลฝอยในพื้นที่เฉลี่ย 3,000-6,000 ตันต่อปี หรือประมาณ 500 ตันต่อเดือน ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ วิถีชีวิตชุมชน รวมถึงทำให้คลองสาขาแม่น้ำบางปะกงเน่าเสีย มีค่าความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี หรือ BOD (Biochemical Oxygen Demand:) สูง แม้จะมีการรณรงค์คัดแยกขยะและจัดตั้งธนาคารขยะ แต่ยังขาดแคลนทรัพยากรบุคคลและความร่วมมือที่ยังไม่ครอบคลุมทุกส่วน ส่งผลให้ยังเกิดปัญหาขยะและน้ำเน่าเสียเรื้อรัง

  • ความร่วมมือ “พลังบ้านปู ฟื้นฟูทะเลไทย” ลดขยะครัวเรือนเทศบาลตำบลท่าข้าม 40%

ปี 2565 ตำบลท่าข้ามได้ร่วมทำงานกับบ้านปู ในโครงการ “พลังบ้านปู ฟื้นฟูทะเลไทย” โดยบ้านปูได้นำโมเดลการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมเข้ามาปรับใช้ในพื้นที่ สร้างเครือข่ายชุมชนที่แข็งแกร่ง และมีเป้าหมายในการพัฒนาพื้นที่ฉะเชิงเทราให้เป็นต้นแบบการลดปริมาณขยะทะเล ผ่าน โมเดลจัดการขยะทะเล 6 มิติ ดังนี้

 

 

การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง: หัวใจสำคัญคือการทำงานร่วมกันระหว่างบ้านปูกับผู้นำในพื้นที่ การสนับสนุนของผู้ว่าราชการจังหวัด และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล และ อบต. รวมไปถึงผู้นำชุมชน อาสาสมัคร และชาวบ้านในพื้นที่ ที่ให้ความร่วมมือตั้งแต่เริ่มวางแผน การดำเนินงาน ติดตาม ประเมินผลเพื่อเพิ่มศักยภาพและขยายขอบเขตการจัดการขยะ ซึ่งบ้านปูทำหน้าที่ประสานงาน ให้คำปรึกษาและสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็น

การจัดการขยะต้นทาง: ส่งเสริมความรู้ ด้านการคัดแยกขยะในครัวเรือนให้กับชุมชน และวิธี ‘เปลี่ยนขยะเป็นเงิน’ ผ่านการจัดตั้งโครงการธนาคารขยะ ปัจจุบันสามารถลดปริมาณขยะและโดยนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้แล้วกว่า 4.5 ตัน

 

 

การเก็บกู้ขยะในแหล่งน้ำและการจัดการ: ติดตั้งอุปกรณ์ดักขยะ การเก็บกู้ขยะ รวมถึงจัดการขยะหลังเก็บกู้ ปัจจุบันบ้านปูได้ติดตั้งทุ่นดักขยะใน 5 คลองสาขาของแม่น้ำบางปะกงไปแล้ว 7 จุด ได้แก่ คลองลัด คลองตาสาย เทศบาลตำบลท่าข้าม คลองบางพระ คลองนาคำแพน อบต.บางพระ คลองใหม่ศรีเจริญ คลองบางพระ อบต.โสธร รวมถึงจัดกิจกรรมให้พนักงานบ้านปูจิตอาสาไปช่วยเก็บขยะริมแม่น้ำบางปะกงร่วมกับชุมชนในพื้นที่ โครงการฯ สามารถเก็บกู้ขยะได้รวม 5.7 ตัน (4 ตันจากทุ่นดักขยะ และ 1.7 ตันจากการเก็บขยะริมแม่น้ำบางปะกง)

การสร้างความตระหนัก: บ้านปูจัดศึกษาดูงานให้กับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้นำชุมชน จาก 6 ตำบล ของอำเภอบางปะกง และ อำเภอเมือง ที่มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโมเดลการจัดการขยะ ไปเรียนรู้วิธีจัดการขยะทะเลต้นแบบที่จังหวัดระยอง และจัดกิจกรรมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาขยะทะเลและการจัดการขยะอย่างถูกวิธีกับชุมชน เช่น กิจกรรม “การจัดการขยะครัวเรือนและขยะทะเล” กับผู้นำชุมชน ต.ท่าสะอ้าน โดยความร่วมมือกับ อบต. ท่าสะอ้านและศูนย์วิจัยฯ ทช. ทสจ.ฉะเชิงเทรา และกิจกรรม “การเดินทางของขยะทะเล” กับนักเรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา เพื่อปลูกฝังแนวคิดอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตั้งแต่รุ่นเยาว์

การบริหารจัดการข้อมูล: การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณและประเภทของขยะที่ได้จากธนาคารขยะ และปริมาณขยะที่เก็บกู้ได้จากทุ่นดักขยะ เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนและพัฒนาการทำงานของโครงการฯ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงมีแผนพัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อให้ชุมชนสามารถแจ้งปัญหาขยะและติดตามข้อมูลต่างๆ ในพื้นที่ได้

การสร้างเครือข่าย: เชื่อมโยงทุกความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ เพื่อแลกเปลี่ยนและนำองค์ความรู้มาปรับใช้ ซึ่งเป็นการขยายเครือข่ายระหว่างคณะทำงานในแต่ละพื้นที่ ที่มุ่งมั่นสร้างพลังในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

ผลจากการดำเนินงานที่ครอบคลุมทั้ง 6 ทุกมิติ ทำให้พื้นที่ปากแม่น้ำบางปะกง ในส่วนบริเวณตำบลท่าข้ามเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เห็นผลชัดเจน โดยปริมาณขยะลดลง 40% จาก 500 ตันต่อเดือน เหลือประมาณ 300 ตันต่อเดือนในปี 2566

  • พลังบ้านปู กับแผนการจัดการขยะทะเล ขยายการมีส่วนร่วม เพิ่มนวัตกรรมตอบโจทย์บริบทในพื้นที่

            ด้าน นายสุทธิโรจน์ มงคลสินพงศ์ คณะทำงานโครงการพลังบ้านปู ฟื้นฟูทะเลไทย บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ผลสำเร็จของโครงการตลอด 2 ปีที่ผ่านมาจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากขาดความร่วมมือของผู้นำส่วนท้องถิ่นเจ้าหน้าที่และชุมชนในพื้นที่ ที่จริงจังกับการจัดการขยะ ในส่วนของบ้านปู เรามีแผนที่จะขยายโมเดลจัดการขยะให้ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายทั้ง 3 อำเภอ 14 ตำบลริมแม่น้ำบางปะกง ในจังหวัดฉะเชิงเทรา และนำนวัตกรรมที่เหมาะกับพื้นที่มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะ เช่น การติดตั้งนวัตกรรมกล่องดักขยะ หรือ Trash Sweeper  สามารถวางในลำคลองและแม่น้ำที่มีเรือสัญจรผ่านที่ไม่สามารถวางทุ่นตาข่ายได้ และสามารถเข้าไปเก็บกู้ขยะได้อย่างสะดวก เพื่อสกัดกั้นขยะไม่ให้ไหลลงสู่ทะเล ซึ่งคาดว่าจะนำลงใช้งานจริงได้ในปี 2568”

“ต้องขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ให้ความสำคัญและลงมือทำจริงในพื้นที่ของเรา การเข้ามาของบ้านปูไม่เพียงช่วยสนับสนุนเครื่องมือในการจัดการขยะ แต่ยังมอบองค์ความรู้ให้คนในชุมชนได้ ผมเชื่อว่าโครงการนี้จะเป็นต้นแบบที่ดี โดยทางชุมชนเองก็ยินดีที่จะเรียนรู้และนำเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้เพื่อการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” นายนริศ กล่าวทิ้งท้าย

 

 

ผู้สนใจสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการ บ้านปูรวมพลัง ฟื้นฟูทะเลไทย

ได้ทางเฟซบุ๊กเพจ  https://www.facebook.com/Banpuofficialth

 

- Advertisement -
- Advertisement -

RELATED

- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -

Lasted

  • โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ร่วมเวที CEO Forum ประกาศจุดยืน "อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ" สู่อนาคต Net Zero
    05 เม.ย. 2568 00.01 น.
  • SPRC ร่วมกับ เชฟรอน มอบบัตรเติมน้ำมันคาลเท็กซ์ ให้ กทม. ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว
    04 เม.ย. 2568 23.58 น.
  • OR มอบ พีทีที สเตชั่น พริวิเลจการ์ด มูลค่า 100,000 บาท แก่ กทม. เพื่อภารกิจกู้ภัยและค้นหาผู้สูญหายในพื้นที่อาคารถล่ม
    04 เม.ย. 2568 23.54 น.
  • เปิดแล้ว! ท่าเรืออัจฉริยะพระราม 7 ยุคใหม่ ที่ใช้พลังงานอย่างชาญฉลาด เชื่อมต่อทุกการเดินทางอย่างสมบูรณ์
    04 เม.ย. 2568 23.51 น.
  • ดินหน้าเต็มกำลัง กฟผ. - มูลนิธินายช่างไทย ใจอาสา กระจายกำลังวิศวกรและช่างอาสาลงพื้นที่ตรวจสอบอาคารโรงเรียน สพฐ. หลังเหตุแผ่นดินไหว
    04 เม.ย. 2568 23.47 น.

Most Viewed

  • "อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์" คว้าสุดยอดผู้นำองค์กรแห่งปี
    20 มิ.ย. 2566 21.47 น.
  • 54 ปี กฟผ. เดินหน้าผลิตไฟฟ้าสีเขียว รุกขยายโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดในเขื่อน
    01 พ.ค. 2566 09.50 น.
  • ‘ผลิต-ไฟฟ้าลาว’ มั่นใจผลงานปีนี้เติบโตเด่น รับดีมานด์ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าในภูมิภาคเพิ่ม
    03 พ.ค. 2566 13.56 น.
  • แม่ฮ่องสอน..สู่เมืองท่องเที่ยวสีเขียว ชู "โซลาร์ฟาร์มสมาร์ทกริด" พร้อมจ่ายไฟเชิงพาณิชย์แล้ววันนี้
    25 พ.ค. 2566 17.14 น.
  • 3 การไฟฟ้าจัดใหญ่ ครั้งแรกของโชว์สุดยอดนวัตกรรม ตอบโจทย์ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า
    12 มิ.ย. 2566 17.47 น.