สนพ. สรุปสถานการณ์พลังงานปี 2563 และแนวโน้มปี 2564
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยสถานการณ์พลังงานปี 2563 และแนวโน้มปี 2564 พบว่า ภาพรวมการใช้พลังงานขั้นต้นลดลง ร้อยละ 5.8 จากการใช้น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน/ลิกไนต์ ที่ลดลง เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ห่วงโซ่การดำเนินธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงานลดลง และเศรษฐกิจภายในประเทศชะลอตัว
นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เปิดเผยถึงสถานการณ์พลังงานปี 2563 พบว่า ความต้องการใช้พลังงานเกือบทุกชนิดเชื้อเพลิงลดลง ในขณะที่พลังงานทดแทนมีการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ไฟฟ้านำเข้ามีการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เนื่องจากปลายปี 2562 มีโรงไฟฟ้าพลังน้ำของประเทศลาวเริ่มจ่ายเข้าระบบจำนวน 3 โรง
สำหรับสถานการณ์พลังงานรายเชื้อเพลิงในปี 2563 สรุปได้ดังนี้
ที่ชะลอตัว ด้านการใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ (NGV) ลดลงร้อยละ 28.5 จากผู้ใช้รถยนต์ NGV บางส่วนเปลี่ยนมาใช้น้ำมันเนื่องจากราคาไม่สูงมากนัก
การใช้พลังงานขั้นต้น ปี 2564 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.2 ถึง 1.9 จากการเพิ่มขึ้นของพลังงานเกือบทุกประเภท ยกเว้นการใช้น้ำมันที่ลดลงร้อยละ -1.9 ถึง -2.9 โดยคาดการณ์ว่าการใช้ก๊าซธรรมชาติจะมีการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ถึง 4.1 การใช้ถ่านหิน/ลิกไนต์คาดว่าจะมีการใช้ค่อนข้างทรงตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.1 ถึง 0.4 ส่วนการใช้พลังงานทดแทน คาดว่าจะมีการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 จากนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนของภาครัฐ และไฟฟ้านำเข้า คาดว่าจะมีการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1
การใช้น้ำมันสำเร็จรูป ปี 2564 คาดว่ามีการใช้ลดลงร้อยละ -1.9 ถึง -2.9 โดยคาดว่าการใช้น้ำมันเครื่องบิน จะลดลงร้อยละ -45.8 ถึง -51.5 ตามการหดตัวของการท่องเที่ยว และ การใช้ LPG ในส่วนที่ไม่รวมการใช้เป็น Feed stocks ของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี คาดว่าจะลดลงร้อยละ -0.7 ถึง -2.7 ส่วนการใช้น้ำมันดีเซล คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ถึง 1.3 ส่วนการใช้เบนซินและแก๊สโซฮอล คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ถึง 0.8
การใช้ LPG โพรเพน และบิวเทน ปี 2564 คาดว่าจะมีการใช้ลดลงร้อยละ -1.0 ถึง -5.5 โดยการใช้ในภาคครัวเรือน คาดว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ถึง 2.5 และภาคอุตสาหกรรม คาดว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ถึง 3.6
ในขณะที่การใช้ในรถยนต์คาดว่าจะลดลงร้อยละ -12.2 ถึง -15.8
ก๊าซธรรมชาติ ปี 2564 คาดว่าการใช้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ถึง 4.1 โดยเพิ่มขึ้นเกือบทุกสาขาเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามการใช้ในภาคขนส่งคาดว่าจะยังคงลดลงต่อเนื่องจากการที่ผู้ใช้ NGV เปลี่ยนกลับมาใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เนื่องจากคาดว่าราคาน้ำมันยังคงไม่สูงมากนัก
การใช้ไฟฟ้า ปี 2564 คาดว่าจะมีการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 191,029 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0
ตามภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศและตามการดำเนินมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาครัฐ
นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท กล่าวปิดท้ายว่า อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องจับตาสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และปัจจัยอื่นๆ อาทิ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ราคาน้ำมันดิบตลาดโลก มาตรการในการป้องกันโควิด-19 ทั้งในและต่างประเทศ ที่จะส่งผลต่อการใช้พลังงาน