เปิดวิสัยทัศน์ ณะรงค์ศักดิ์ จิวากานันต์ CEO ใหม่ GC ดันมาบตาพุด สู่การเป็น Hub ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

18 มิถุนายน 2567 13.45 น.
อ่าน 2,508 ครั้ง
 
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC เปิดตัว CEO ใหม่ โขว์วิสัยทัศน์การบริหารงานในอนาคต พร้อมเดินหน้าผลักดันนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเป็นฮับปิโตรเคมีมูลค่าสูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 
 
วันที่ 18 มิถุนายน 2567 นายณะรงค์ศักดิ์ จิวากานันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และนายทศพร บุณยพิพัฒน์ ผู้จัดการใหญ่ (President) สองผู้บริหารของ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC หลังได้รับการแต่งตั้งใหม่อย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา เผยวิสัยทัศน์สร้างการเติบโตที่ยั่งยืนของ GC โดยยืนยันสานต่อกลยุทธ์ 3 Steps Plus รักษาฐานให้แข็งแรง เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน สร้าง Synergy ปรับพอร์ตโฟลิโอ มุ่งสู่กลุ่มธุรกิจที่มีมูลค่าสูงและคาร์บอนตํ่า (High Value & Low Carbon Business) รุกธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ด้วย allnex และ NatureWorks อีกทั้งสร้างโอกาสการเติบโตของมาบตาพุด และพัฒนา Strategic Partnership เพื่อตอบสนองเมกะเทรนด์ของอุตสาหกรรมแห่งอนาคตสู่การเป็น Hub ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมทำงานร่วมกับกลุ่ม ปตท. ในโครงการดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ และต่อยอดเป็นธุรกิจแห่งอนาคต
 
 
 
 
นายณะรงค์ศักดิ์ จิวากานันต์ CEO GC กล่าวว่า “ก้าวต่อไปในการสร้างความเติบโตที่ยั่งยืนของ GC เราพร้อมสานต่อกลยุทธ์ 3 Steps Plus – ประกอบด้วย Step Change - Step Out - Step Up เพื่อเสริมศักยภาพในการแข่งขันและการเติบโตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป   โดยเรานำความพร้อมด้านนวัตกรรม ศักยภาพการผลิตผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์และพลาสติกชีวภาพที่เรามีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญ มาต่อยอดและตอบสนอง แนวโน้มความต้องการของอุตสาหกรรมใหม่ตามเทรนด์โลก”
 
ทั้งนี้ กลยุทธ์ Step Out หรือการสร้างการเติบโตในกลุ่มธุรกิจต่างประเทศ มีบทบาทอย่างมากต่อการเติบโตในอนาคตของบริษัทฯ โดยกลุ่มธุรกิจที่มีมูลค่าสูงและคาร์บอนต่ำ (High Value & Low Carbon Business) จะมุ่งเน้นการขยายตลาดและสร้างสรรค์เคมีภัณฑ์ผ่าน allnex ที่มีโรงงานและฐานธุรกิจสารเคลือบผิว (Coating Resins) อยู่ 34 แห่งทั่วโลก 
 
สำหรับการพัฒนาฐานการผลิต (Hub) ของ allnex ในทวีปต่างๆ นั้น allnex ประสบความสำเร็จในการพัฒนา China Hub จึงได้นำมาต่อยอดขยายฐานผลิตในกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพการเติบโต ได้แก่ โรงงาน Mahad รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย และแห่งใหม่ในอนาคต โรงงานมาบตาพุด ประเทศไทย เพื่อเป็น Hub ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ในตลาดเคลือบผิวในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตสูง ได้แก่ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนดักเตอร์ บรรจุภัณฑ์ โลหะอุตสาหกรรม เฟอร์นิเจอร์และการตกแต่งเคลือบผิวอาคารแบบพิเศษ (Special Decoration)
 
ขณะที่ กลุ่มธุรกิจ Bio และ Green ซึ่ง NatureWorks ผู้ผลิตไบโอพลาสติกประเภทโพลิแลกติกแอซิด (PLA) ชั้นนำของโลก ใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพชนิดย่อยสลายได้ สามารถนำไปใช้ในหลากหลายแอปพลิเคชัน เช่น แคปซูลกาแฟ ถุงชา และ วัสดุสำหรับการพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing) ด้วยคุณสมบัติที่มีประสิทธิภาพเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและตอบโจทย์เทรนด์ความยั่งยืน  โดย GC ถือหุ้น 50% ร่วมกับ Cargill อยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงานผลิต PLA ครบวงจรแห่งใหม่ ที่นครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ (Nakhonsawan Bio Complex – NBC) มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2568 ซึ่งจะเป็น Bio Complex แห่งแรกของประเทศไทย โดยใช้น้ำตาลจากอ้อยเป็นวัตถุดิบหลักเพื่อผลิต Lactic Acid ซึ่งนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต PLA มีกำลังการผลิต 75,000 ตันต่อปี ช่วยเสริมความแข็งแกร่งด้าน Bio และ Green ของประเทศ สร้างโอกาสแก่ภาคเกษตรกรรมและพัฒนาเศรษฐกิจไปอีกขั้น จะทำให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกเพื่อตอบสนองความต้องการวัสดุเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Material) สู่ตลาดโลก
 
ในส่วนของกลยุทธ์ Step Up หรือการสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ GC สานต่อแนวทางการบูรณาการหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ภายใต้กรอบของ ESG ( Environmental - Social - Governance สิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล) พร้อมเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Target) ภายในปี 2593 แนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ การทำงานร่วมกับบริษัทในกลุ่ม ปตท. ในโครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ Carbon Capture and Storage (CCS) ทั้งในการศึกษาเรื่อง Carbon Capture Technology ผ่านการลงทุนใน Corporate Venture Capital (CVC) และการศึกษาโอกาสในการนำไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำ (Blue/Green Hydrogen) ไปใช้และพัฒนาโมเดลธุรกิจเพื่อต่อยอดเป็นธุรกิจแห่งอนาคต
 
 
นายทศพร บุณยพิพัฒน์ President GC ได้กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ Step Change ว่า แนวทางที่สำคัญในการยกระดับความสามารถในการแข่งขัน และการรักษาฐานทางธุรกิจที่แข็งแกร่งอย่างรอบด้านของ GC เราจะเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดต้นทุนการผลิตและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม เชื่อมโยง Value Chain ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด รวมถึงสามารถรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เคมีมูลค่าสูงที่เกิดจากความร่วมมือกับพันธมิตรต่าง ๆ ในอนาคตได้เป็นอย่างดี นับเป็นการบริหารการลงทุนอย่างครบวงจรเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
 
 
 
 
นอกจากนี้ นายณะรงค์ศักดิ์ ยังกล่าวด้วยว่า โดยสรุปแนวทางการสร้างการเติบโตของ GC ในช่วงครึ่งปีหลัง ปี 2567 ได้มุ่งเน้น 2 ด้านคือ
  1. ผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์มูลค่าสูง (High Value) และคาร์บอนต่ำ (Low Carbon) ด้วยการต่อยอดธุรกิจผ่าน allnex ตามแนวทางกลยุทธ์การปรับพอร์ตธุรกิจของ GC ให้มีสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นจากธุรกิจผลิตภัณฑ์ High Value ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง   
 
  1. ยกระดับสร้างโอกาสการลงทุนในมาบตาพุด รองรับการขยายตัวการลงทุนและเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว และคาดว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีรายได้ประชาชาติ (GDP) เติบโต ที่ 4.6% GC จึงวางแผนสรรหา และพัฒนา Strategic Partnership ดึงดูดการลงทุนธุรกิจ High Value/ Specialty Chemicals สนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีแนวโน้มจะสร้างฐานการผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
 
นายณะรงค์ศักดิ์ CEO GC ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ด้วยจุดแข็งของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดในด้านความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานและทำเลที่ตั้งอันเป็นศูนย์กลางการส่งออกสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตลาดโลก วันนี้เราจึงได้เห็นแนวโน้มความสนใจการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ทันสมัยเกิดขึ้นมากมายในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ อัตราการใช้เคมีภัณฑ์ต่อประชากรยังมีโอกาสเติบโตอีกมากเมื่อเทียบกับทวีปอื่นๆ ซึ่ง GC มีศักยภาพและความพร้อมตอบสนองความต้องการและสามารถร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์กับลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมได้หลากหลาย จึงเป็นโอกาสทางธุรกิจของ GC”
 
สำหรับผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2567 ที่ผ่านมา GC มีรายได้การขายรวม 155,187 ล้านบาท มาจากกลุ่มผลิตภัณฑ์ อะโรเมติกส์และโอเลฟินส์ ตามลำดับ มีกำไรจากการดำเนินงานปกติจำนวน 703 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยบริษัทฯ รับรู้ขาดทุนจากการดำเนินการปกติและรับรู้รายการที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานปกติ ทำให้มีผลขาดทุนสุทธิรวม 606 ล้านบาท สะท้อนถึงความสามารถในการรับมือและดำเนินธุรกิจท่ามกลางสถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Advertisement -
- Advertisement -

RELATED

- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -

Lasted

  • กกพ. ปลดล็อกข้อจำกัด ลดขั้นตอน ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตการประกอบกิจการไฟฟ้า
    16 พ.ค. 2568 09.23 น.
  • BAFS ปลื้ม ปิดดีลขายหุ้นกู้ทะลุเป้า 1,000 ล้านบาท กระแสตอบรับล้น ขอบคุณความเชื่อมั่นนักลงทุน
    15 พ.ค. 2568 22.51 น.
  • บ้านปูเผยความคืบหน้าทุกกลุ่มธุรกิจในไตรมาส 1 ปี 68 เน้นความยืดหยุ่นท่ามกลางความท้าทายในทุกมิติ
    15 พ.ค. 2568 22.16 น.
  • EGCO Group ท็อปฟอร์มต่อเนื่อง Q1/2568 กำไรสุทธิพุ่ง 115% กว่า 3,500 ล้านบาท
    15 พ.ค. 2568 18.12 น.
  • บ้านปู เปิดรับ SE รุ่นใหม่ “จุดไฟ โตไปพร้อมกัน” ในโครงการ “พลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม” ปีที่ 14
    08 พ.ค. 2568 12.22 น.

Most Viewed

  • "อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์" คว้าสุดยอดผู้นำองค์กรแห่งปี
    20 มิ.ย. 2566 21.47 น.
  • 54 ปี กฟผ. เดินหน้าผลิตไฟฟ้าสีเขียว รุกขยายโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดในเขื่อน
    01 พ.ค. 2566 09.50 น.
  • ‘ผลิต-ไฟฟ้าลาว’ มั่นใจผลงานปีนี้เติบโตเด่น รับดีมานด์ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าในภูมิภาคเพิ่ม
    03 พ.ค. 2566 13.56 น.
  • แม่ฮ่องสอน..สู่เมืองท่องเที่ยวสีเขียว ชู "โซลาร์ฟาร์มสมาร์ทกริด" พร้อมจ่ายไฟเชิงพาณิชย์แล้ววันนี้
    25 พ.ค. 2566 17.14 น.
  • 3 การไฟฟ้าจัดใหญ่ ครั้งแรกของโชว์สุดยอดนวัตกรรม ตอบโจทย์ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า
    12 มิ.ย. 2566 17.47 น.