“อธิป-ซีอีโอ อินโนเพาเวอร์” ขึ้นเวทีเดลินิวส์
ร่วมผลักดันประเทศไทยสู่ความยั่งยืน หนุนธุรกิจด้วยนวัตกรรมสู่ Net Zero
นายอธิป ตันติวรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินโนเพาเวอร์ จำกัด เปิดเผยในงานสัมมนา Sustainable Daily Talk Action for Change : ทำเดี๋ยวนี้! เพื่อการเปลี่ยนแปลง หัวข้อ Action for Change : เปลี่ยนธุรกิจด้วยนวัตกรรม เพื่อความยั่งยืน ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล ราชประสงค์ จัดโดย หนังสือพิมพ์เดลินิวส์และเดลินิวส์ออนไลน์ ระบุว่า จากงาน World Economic Forum เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ระบุว่า บริษัทที่ขาด 2 สิ่งนี้จะแข่งขันได้ยาก คือ นวัตกรรม เช่น เอไอ เพราะมาเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันได้ดี ส่วนอีกอัน เป็น คือ Sustainability
ด้าน เจพีมอร์แกน ให้ข้อมูลปีนี้น่าจะเห็นการลงทุนในเรื่องความยั่งยืนมากกว่าปีที่แล้ว หลายคนบอกเป็นเทรนด์ไกลตัวหรือไม่ แต่ว่า ความเป็นจริง เรื่องความยั่งยืนในไทยเป็นประเทศที่ตระหนักรู้ในเรื่องนี้ความยั่งยืน แต่ยังมีสาเหตุที่ทำไมการ Action เรื่องความยั่งยืนยังน้อยกว่าคาด มี 3 เหตุผล คือ 1.เนื่องจากเรื่องนี้ ยังเป็นเรื่องใหม่ เรื่อง ความรู้ยังจำกัด (Gap of Knowledge & Expertise about Sustainability)
2.หลายบริษัท ยังมีความเชื่อว่า การจ่ายในเรื่อง Sustainability ไม่คุ้มค่า เพราะว่าข้อมูลมีจำกัด (Mispercepion that Sustainbility is Costly) จ่ายไปไม่เห็นผลหรือไม่เพิ่มความสามารถ 3.เรื่องการ Allocate Resourcess to Core Business มีงบที่จำกัด แก้โดยได้มีเทคโนโลยี
สิ่งที่สำคัญที่สร้างความยั่งยืนด้านพลังงานได้ คือ เรื่องของต้นทุน หากผู้ประกอบการต้องมีค่าใช้จ่ายต้นทุนเรื่องกรีนมาก จะไม่สามารถแข่งขันได้ เช่น ความมั่นคงทางด้านพลังงาน หากผู้ประกอบการกรีนบ้าง ไม่กรีนบ้าง บางช่วงผลิตไฟบ้าง ไม่ผลิตบ้าง คงไม่ส่งเสริมความยั่งยืนที่แท้จริง ดังนั้น จึงต้องมีความรู้ และมีนวัตกรรมมาเสริม
สำหรับการทำ decarbonization หรือกระบวนการลดปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ มี 4 ด้าน คือ 1.สร้างความตระหนักรู้ จุดเริ่มต้นไปให้ถึงเป้า เช่น หากไม่รู้ว่ามีใช้ไฟอย่างไร เครื่องมือกินไฟเท่าไรอย่างไร เราไม่มีทางเข้าไปถึงเป้าหมายได้ 2.ผู้ประกอบการต้องการสร้างผลลัพธ์รวดเร็ว หรือการซ่อมแซม ช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการเข้าถึงพลังงานสะอาดได้ในช่วงต้น 3.การเข้าไปสู่สาเหตุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเยอะอยู่ไหม และ 4.การทำงานเชิงรุก (Pro Active)
“ปีที่ผ่านมาให้ผู้ประกอบการเข้าถึงพลังงานสะอาด มากกว่า 2 ล้านหน่วย และล่าสุด 2 เดือนที่ผ่านมา เปิดให้ผู้ประกอบการรายย่อยผลิตพลังงานสะอาดเอง สามารถเข้าสู่แพลตฟอร์ม REC ภาคประชาชน เมื่อให้ผู้ประกอบการรู้จักตัวเองแล้ว สิ่งสำคัญ คือ ต้องพัฒนาไป Root Cost ด้วย”
นายอธิป กล่าวว่า บริษัทอินโนเพาเวอร์ยังได้ลงทุนบริษัทและสตาร์ทอัพต่างๆ รวมถึงจับมือพันธมิตร เพื่อไปสู่การเปลี่ยนผ่านลดก๊าซเรือนกระจก ช่วยเปลี่ยนผ่านไปสู่อีวี ซึ่งผลของปีที่ผ่านมาการทำ decarbonization เป็นโอกาสในการเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ ที่เป็นพรีเมียม ปีที่แล้วบริษัทโต 700% จากการทำธุรกิจเกี่ยวกับ decarbonization และมีพาร์ทเนอร์มากกว่า 80 แห่งในไทย สิ่งสำคัญ คือ จากเป้าหมายของบริษัท สามารถลดคาร์บอนเทียบเท่าได้ถึง 1 ล้านตัน แต่บริษัทยังเป็นบริษัทหนึ่ง ที่อยากจะช่วยสิ่งแวดล้อมของไทยดีขึ้นได้
สำหรับพันธมิตร Western Digital เป็นคนหนึ่งที่เข้ามาปรึกษาอินโนเพาเวอร์ ซึ่งบริษัทได้ขายผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันมีการพูดคุยถึง EV Solution เพื่อไปสู่เป้าหมาย Net Zero ได้ อีกแห่งคือ ที่บริษัทไปลงทุน คือ CHOOOSE ที่เราสามารถ offsets ได้ เมื่อเราเดินทาง หรือ เท่ากับเป็นการเดินทางอย่างรับผิดชอบ ตัวอย่างสุดท้าย คือ บริษัทได้มีพันธมิตรอย่าง EGAT เปลี่ยนจาก บัสสันดาป เป็นรถบัสอีวี ซึ่งทำให้คาร์บอนฟุตปริ้นดีขึ้น มีการช่วยออกแบบควรติดตั้งสถานีที่ไหนบ้าง
“ต้องบอกว่าเรื่องของ สิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องของทุกคน ไทยปล่อยคาร์บอนเกินค่าเฉลี่ยอยู่เยอะ เราเองเป็นแค่บริษัทเล็กๆ บริษัทหนึ่งที่มีความฝัน อยากจะช่วยให้สิ่งแวดล้อมประเทศไทยดีขึ้นได้ เทียบเท่าปลูกต้นไม้ 45 ล้านต้น และให้แข่งขันได้ในตลาดใหม่ๆ มีสิ่งแวดล้อมที่ดีในอนาคต ดังนั้นจึงอยากชวนให้ทุกคน Action for change”