สนพ. จับตาราคาน้ำมันโลก หลังลิเบียปรับเพิ่มกำลังการผลิต
การประชุมกลุ่มโอเปกพลัสสิ้นเดือนนี้ และสถานการณ์โควิด-19 ยังคงน่ากังวล
นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้เผยถึงราคาน้ำมันดิบราคาน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (16 – 22 พฤศจิกายน 2563) ว่ามีแนวโน้มทรงตัวในกรอบแคบๆ หลังตลาดยังคงกังวลต่อความต้องการใช้น้ำมัน เนื่องจากยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการกลับมาบังคับใช้มาตรการเข้มงวดทางสังคม เช่น ในสหรัฐฯ และยุโรป นอกจากนี้ปริมาณน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นหลังลิเบียปรับเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบมาอยู่ที่ระดับ 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน ในช่วงกลางเดือน พ.ย. 63 ประกอบกับนอร์เวย์เตรียมปรับเพิ่มกำลังการผลิตอีก 30,000 บาร์เรล/วัน ภายในสิ้นปีนี้ อย่างไรก็ตามตลาดยังคงได้รับแรงหนุนจากข่าวดีเรื่องการพัฒนาการผลิตวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 หลังมี 2 บริษัทออกมารายงานผลการทดสอบวัคซีนว่าประประสิทธิภาพสูงถึงร้อยละ 95 ซึ่งจะช่วยหนุนการฟื้นตัวของอุปสงค์น้ำมัน รวมทั้งการที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์เริ่มกระบวนการถ่ายโอนอำนาจให้กับนายโจ ไบเดน ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ อีกทั้งให้จับตาการเมืองลิเบียที่ยังไม่สงบ และติดตามกลุ่มโอเปกและประเทศพันมิตร (โอเปกพลัส) ซึ่งจัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อเสนอทางเลือกแผนการผลิตน้ำมันในที่ประชุมใหญ่ (วันที่ 30 พ.ย.- 1 ธ.ค. 63) นายวัฒพงษ์ กล่าว
โดยรายละเอียดของสถานการณ์ราคาน้ำมัน ดังนี้
สถานการณ์ราคาน้ำมันโลก: (16 – 22 พฤศจิกายน 2563) ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์เท็กซัส เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ $42.84 และ $40.87 ต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว $3.49 และ $2.96 ต่อบาร์เรล
• กลุ่มโอเปกและประเทศพันมิตร (โอเปกพลัส) มีแนวโน้มขยายเวลาการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบที่ระดับ 7.7 ล้านบาร์เรล/วัน ไปสิ้นสุดในไตรมาส 1/64 จากเดิมที่มีกำหนดจะสิ้นสุดในเดือน ธ.ค. 63 นี้ โดยจะจัดการประชุมเพื่อสรุปแผนการปรับลดกำลังการผลิตในวันที่ 30 พ.ย. และ 1 ธ.ค. 63
• ความคืบหน้าในการผลิตวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 หลังบริษัท Pfizer ได้เสนอยื่นเรื่องต่อสำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ในวันที่ 20 พ.ย. 63 เพื่อขออนุมัติการใช้วัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ของทางบริษัทเป็นกรณีฉุกเฉิน
• บริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์ รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ สัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 20 พ.ย. 63 ปรับลดลง 5 แท่น สู่ระดับ 231 แท่น
• ราคากลางน้ำมันสำเร็จรูปตลาดภูมิภาคเอเซีย
น้ำมันเบนซิน: ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 และ 92 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ $46.49 และ $45.34 ต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว $0.26 และ $0.02 ส่วนน้ำมันเบนซิน 91 (Non-Oxy) เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ $46.55 ต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว $0.20 ต่อบาร์เรล ตามลำดับ
• Platts รายงานตลาดน้ำมันเบนซินในเอเชียอ่อนแอ เนื่องจากอุปสงค์ชะลอตัวในหน้าหนาว และจากมาตรการLockdown จากวิกฤติโควิด-19 โดยบรูไน, ไต้หวัน, และมาเลเซียต่างออกประมูลขายน้ำมันเบนซินส่งมอบในเดือน ธ.ค. 63 ด้าน International Enterprise Singapore (IES) รายงานปริมาณสำรอง Light Distillates เชิงพาณิชย์ที่สิงคโปร์ (ณ วันที่ 18 พ.ย. 63) ลดลง 0.92 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 12.43 ล้านบาร์เรล ประกอบกับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังของสิงคโปร์ที่ปรับตัวลดลง และการส่งออกจากอินเดียและมาเลเซียที่ปรับลดลง
• Petroleum Association of Japan (PAJ) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ในญี่ปุ่น สัปดาห์สิ้นสุด 14 พ.ย. 63 ลดลง 0.12 ล้านบาร์เรลอยู่ที่ 12.06 ล้านบาร์เรล
น้ำมันดีเซล: ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (10 PPM) เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ $48.31 ต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว $1.29 ต่อบาร์เรล
• แรงหนุนจากอุปทานในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตามความต้องการใช้น้ำมันดีเซลยังคงได้รับแรงกดดันจากยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เพิ่มสูงขึ้น ปริมาณการผลิตน้ำมันดีเซลจากจีนในช่วงปลายปี 63 มีแนวโน้มต่ำกว่าที่คาดไว้ ประกอบกับความต้องการใช้ในอินเดียที่ยังคงแข็งแกร่ง จากรายงานปริมาณสำรอง Middle Distillates เชิงพาณิชย์ โดย IES ที่สิงคโปร์ (ณ วันที่ 18 พ.ย. 63) ลดลง 0.5 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 16.09 ล้านบาร์เรล
• สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณสำรอง Distillates เชิงพาณิชย์ที่สหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 พ.ย. 63 ลดลง 5.2 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 144.1 ล้านบาร์เรล
o ค่าเงินบาทของไทย: ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 0.09 บาท/เหรียญสหรัฐฯ มาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 30.4245 บาท/เหรียญสหรัฐฯ (ต้นทุนน้ำมันเบนซินลดลง 0.08 บาท/ลิตร น้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 0.22 บาท/ลิตร) ทำให้ค่าการตลาดของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซล เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 2.45 บาท/ลิตร (รวมค่าขนส่งน้ำมันทางท่อจากศรีราชา - กรุงเทพฯ 0.15 บาท/ลิตร) และค่าการกลั่น เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 0.47 บาท/ลิตร
o ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง: ณ วันที่ 22 พ.ย. 63 กองทุนน้ำมันฯ มีสินทรัพย์รวม 60,651 ล้านบาท หนี้สินกองทุนฯ 31,608 ล้านบาท ฐานะกองทุนน้ำมันฯ สุทธิ 29,043 ล้านบาท (บัญชีน้ำมัน 37,530 ล้านบาท บัญชี LPG -8,487 ล้านบาท)
สามารถติดตามราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงประจำวันได้ที่ www.eppo.go.th