กฟผ. ลุยผลิต “พลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำ” เขื่อนอุบลรัตน์ มุ่งสู่ “Carbon Neutrality” ด้วยพลังงานหมุนเวียน

01 ธันวาคม 2565 09.36 น.
อ่าน 4,757 ครั้ง
 

กฟผ. เดินหน้าลุยผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำ เขื่อนอุบลรัตน์ หลังโครงการนำร่อง เขื่อนสิรินธรสำเร็จเกินเป้า มุ่งสู่สังคมคาร์บอนเป็นกลาง ด้วยพลังงานหมุนเวียน

 

กฟผ. มุ่งหน้าแผนพัฒนาโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดแห่งที่สอง ณ เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ขนาดกำลังผลิต 24 เมกะวัตต์ ผลิตไฟฟ้าในรูปแบบผสมผสานพลังงานแสงอาทิตย์และพลังน้ำจากเขื่อน พร้อมติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน BESS (Battery Energy Storage System) ถือเป็นการช่วยพัฒนาให้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมีประสิทธิภาพและพึ่งพาได้มากขึ้น โดยการดำเนินงานมุ่งสู่การสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาด เพื่อเป้าหมาย Carbon Neutrality ตอกย้ำการสร้างความมั่นคงทางไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมถึงของประเทศไทยให้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น

 

ทำไมต้องโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด?

จากการคาดการณ์ความต้องการใช้พลังงานทั่วโลกรวมถึงไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นเท่าตัวในอีกเกือบ 40 ปีข้างหน้า และในปี ค.ศ. 2030 จะมีการใช้ไฟฟ้ามากกว่าปัจจุบันถึง 2 เท่า ดังนั้น การพัฒนาพลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียน และพลังงานสะอาด จึงเป็นทางเลือกสำคัญของการผลิตไฟฟ้าในอนาคต และหนึ่งในนั้นคือ “โซลาร์เซลล์บนทุ่นลอยน้ำ” ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้มีแผนดำเนินโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำแบบไฮบริดทั่วประเทศไทยจำนวน 16 โครงการ กำลังการผลิตรวม 2,725 เมกะวัตต์ ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Revision 1) เพื่อให้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน พร้อมสร้างเสถียรภาพให้พลังงานหมุนเวียนสามารถผลิตไฟฟ้าได้ทัดเทียมกับพลังงานหลัก สร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในประเทศ ให้คนไทยมีไฟฟ้าใช้ได้อย่างมั่นคงและเพียงพอ

 

โซลาร์เซลล์บนทุ่นลอยน้ำ คือ การนำแผงโซลาร์เซลล์มาติดตั้งบนทุ่นลอยน้ำ ชนิด HDPE (High Density Polyethylene) ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ โดยนำเทคโนโลยีไฮบริดเข้ามาควบคุมการผลิตไฟฟ้า ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์จากโซลาร์เซลล์บนทุ่นลอยน้ำ ที่ผลิตไฟฟ้าในเวลากลางวัน ร่วมกับพลังน้ำจากเขื่อนที่ผลิตไฟฟ้าเสริมในช่วงความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง หรือในเวลากลางคืน จึงช่วยเสริมให้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั้ง 2 ประเภทมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

กว่าจะมาเป็นโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดที่เขื่อนอุบลรัตน์

 

แรกเริ่ม โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ ร่วมกับ โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี หรือ Hydro-Floating Solar Hybrid เป็นโครงการนำร่องแห่งแรกของ กฟผ. และถือเป็นโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดกับพลังน้ำ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีแผงโซลาร์เซลล์มากถึง 144,420 แผ่น ติดตั้งอยู่บนพื้นที่ผิวน้ำประมาณ 450 ไร่ หรือเทียบเท่ากับสนามฟุตบอลประมาณ 70 สนาม โดยสามารถนำพลังงานหมุนเวียนสองประเภททั้งจาก พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังน้ำ มาผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน

 

อีกทั้ง กฟผ. มีแผนพัฒนาโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดในพื้นที่เขื่อนของ กฟผ. 9 เขื่อนทั่วประเทศ รวม 16 โครงการ จากผลการดำเนินงานกว่า 1 ปีที่จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ที่เขื่อนสิรินธร แสดงให้เห็นว่าแผงโซลาร์เซลล์ชนิดดับเบิลกลาส (Double Glass) สามารถทนต่อความชื้นสูงได้ดี ทำให้ไม่มีสิ่งปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำ และยังลดการระเหยของน้ำได้ประมาณ 460,000 ลบ.ม./ปี ยิ่งไปกว่านั้นยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CO2) ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนได้ถึง 47,000 ตัน/ปี โครงการต่อมา คือโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งคาดว่าจะเริ่มผลิตไฟฟ้าได้ในปี 2566

 

โดยโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดที่เขื่อนอุบลรัตน์นี้ จะมีการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน BESS (Battery Energy Storage System) ที่ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ในการกักเก็บพลังงาน  ทำหน้าที่เก็บสะสมพลังงานส่วนเกินจากระบบส่งไฟฟ้า ด้วยการชาร์จแบตเตอรี่ในเวลาที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำ เพื่อนำมาใช้จ่ายไฟในช่วงเวลาที่ต้องการ และช่วยลดความผันผวนของพลังงานหมุนเวียน โดย กฟผ. เตรียมเดินหน้าโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ขนาดกำลังผลิต 24 เมกะวัตต์ ที่ผลิตไฟฟ้าในรูปแบบไฮบริดจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังน้ำจากเขื่อน และติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน BESS เพื่อเสริมการผลิตไฟฟ้าให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีกำหนดจ่ายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ภายในปี 2566

 

พลังงานสะอาด พลังงานยั่งยืนเพื่อคนไทยทุกคน

 

จากการพัฒนาโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดที่นอกจากจะเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศแล้ว กฟผ. ยังพัฒนาโครงการนี้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญของจังหวัด จากโครงการนำร่องแห่งแรกที่เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ได้มีการก่อสร้างสะพานเดินชมธรรมชาติ (Nature Walkway) ความสูง 5-10 เมตร ยาว 415 เมตร เพื่อให้ประชาชนได้เดินชมความสวยงามของทิวทัศน์ได้อย่างใกล้ชิด

 

อีกทั้งได้เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน ซึ่งความสำเร็จของโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธรนี้ จึงเป็นก้าวสำคัญของการเดินหน้าผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดที่เชื่อถือได้ และแสดงถึงความมุ่งมั่นในการส่งเสริมพลังงานสะอาดของไทย โดยให้ความสำคัญกับชุมชนโดยรอบ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน และในอนาคต กฟผ. เตรียมแผนพัฒนาดำเนินโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำระบบไฮบริดบริเวณเขื่อนอื่น ๆ ของ กฟผ. อีกหลายแห่งอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมุ่งพัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีเพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดด้านพลังงาน พร้อมสร้างเสถียรภาพให้กับพลังงานหมุนเวียน เพื่อเดินหน้าสู่สังคมไร้คาร์บอนอย่างแท้จริงในอนาคต เพื่อคนไทยทุกคน

#EGAT #EGATForALL #CarbonNeutrality #RE #UbolRatanaDam

- Advertisement -
- Advertisement -

RELATED

- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -

Lasted

  • กกพ. ปลดล็อกข้อจำกัด ลดขั้นตอน ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตการประกอบกิจการไฟฟ้า
    16 พ.ค. 2568 09.23 น.
  • BAFS ปลื้ม ปิดดีลขายหุ้นกู้ทะลุเป้า 1,000 ล้านบาท กระแสตอบรับล้น ขอบคุณความเชื่อมั่นนักลงทุน
    15 พ.ค. 2568 22.51 น.
  • บ้านปูเผยความคืบหน้าทุกกลุ่มธุรกิจในไตรมาส 1 ปี 68 เน้นความยืดหยุ่นท่ามกลางความท้าทายในทุกมิติ
    15 พ.ค. 2568 22.16 น.
  • EGCO Group ท็อปฟอร์มต่อเนื่อง Q1/2568 กำไรสุทธิพุ่ง 115% กว่า 3,500 ล้านบาท
    15 พ.ค. 2568 18.12 น.
  • บ้านปู เปิดรับ SE รุ่นใหม่ “จุดไฟ โตไปพร้อมกัน” ในโครงการ “พลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม” ปีที่ 14
    08 พ.ค. 2568 12.22 น.

Most Viewed

  • "อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์" คว้าสุดยอดผู้นำองค์กรแห่งปี
    20 มิ.ย. 2566 21.47 น.
  • 54 ปี กฟผ. เดินหน้าผลิตไฟฟ้าสีเขียว รุกขยายโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดในเขื่อน
    01 พ.ค. 2566 09.50 น.
  • ‘ผลิต-ไฟฟ้าลาว’ มั่นใจผลงานปีนี้เติบโตเด่น รับดีมานด์ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าในภูมิภาคเพิ่ม
    03 พ.ค. 2566 13.56 น.
  • แม่ฮ่องสอน..สู่เมืองท่องเที่ยวสีเขียว ชู "โซลาร์ฟาร์มสมาร์ทกริด" พร้อมจ่ายไฟเชิงพาณิชย์แล้ววันนี้
    25 พ.ค. 2566 17.14 น.
  • 3 การไฟฟ้าจัดใหญ่ ครั้งแรกของโชว์สุดยอดนวัตกรรม ตอบโจทย์ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า
    12 มิ.ย. 2566 17.47 น.