รมว.พลังงาน ลงพื้นที่ลำปาง เร่ง ชธ. กฟผ. ปตท.สผ. ศึกษาศักยภาพ CCS เหมืองแม่เมาะ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050

13 พฤศจิกายน 2565 21.35 น.
อ่าน 2,437 ครั้ง
 

รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน เร่ง ชธ. กฟผ. ปตท.สผ. ศึกษาศักยภาพ CCS ในพื้นที่เหมืองแม่เมาะ เดินหน้านโยบายมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 อย่างเป็นรูปธรรม

 

 

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและประชุมติดตามการดำเนินงานของ กฟผ. แม่เมาะ โดยมี นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และผู้บริหาร กฟผ. ให้การต้อนรับพร้อมนำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงาน อาทิ ศักยภาพและความเป็นไปได้ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และกักเก็บไว้ในชั้นหินระดับลึกใต้เหมืองแม่เมาะ การนำเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งมาเผาไหม้ร่วมกับถ่านหิน (Biomass Co-Firing) และความก้าวหน้าการนำโรงไฟฟ้าเครื่องที่ กลับมาเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเพื่อช่วยวิกฤติพลังงาน เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง

 

 

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กฟผ.แม่เมาะ มีศักยภาพในการพัฒนาไปสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมด้านพลังงานสะอาด รวมทั้งยังมีศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอน ไดออกไซด์ (Carbon Capture Storage : CCS) ซึ่งมอบหมายให้สามหน่วยงาน ประกอบด้วย กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ชธ.) ปตท.สผ. และ กฟผ. เร่งดำเนินการศึกษาเบื้องต้นให้แล้วเสร็จ ภายในเดือนมกราคม ปี 2566 หากสามารถพัฒนาไปสู่การกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ก็จะช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน

 

 

อยากให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลที่มีแลกเปลี่ยนกันให้ได้มากที่สุด หากสามารถทำได้จริงด้วยราคาที่เหมาะสม ก็จะเป็นโอกาสให้การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะดำเนินต่อไปได้สอดคล้องกับทิศทาง และนโยบายหลักของประเทศ” นายสุพัฒนพงษ์ กล่าว

นอกจากนี้ ยังให้สามหน่วยงานร่วมกันเตรียมศึกษาโครงการ CCS ที่โรงไฟฟ้าน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เพิ่มเติม ซึ่งคาดว่าจะได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ในอนาคต

สำหรับความก้าวหน้าการนำโรงไฟฟ้าเครื่องที่ กลับมาเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเพื่อช่วยวิกฤติพลังงาน คาดว่าจะสามารถเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ได้ประมาณวันที่ ธันวาคม 2565 ซึ่งจะช่วยให้ประเทศลดการนำเข้าเชื้อเพลิงที่มีราคาแพงจากต่างประเทศลงได้ 

นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินการโครงการ Biomass Co-Firing ซึ่งเป็นการนำวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตร เช่น เปลือก ซัง ต้น ตอ ใบข้าวโพด นำมาผ่านกระบวนการบดและอัดเป็นแท่ง ใช้เป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ร่วมกับถ่านหินที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 12 และ 13 ถือเป็นโรงไฟฟ้าแห่งแรกของประเทศไทยที่ใช้ระบบการเผาไหม้ถ่านหินร่วมกับชีวมวลทางการเกษตร ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน และยังช่วยลดการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ส่งผลให้ปัญหาหมอกควัน ฝุ่น PM 2.5 และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง และยังเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนโดยรอบ กฟผ. แม่เมาะ จากการขายวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอีกด้วย 

- Advertisement -
- Advertisement -

RELATED

- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -

Lasted

  • กลุ่ม ปตท. ชวนคุณสร้างรอยยิ้มให้เกษตรกร อุดหนุนผลไม้จากสวน ลดปัญหาผลไม้ล้นตลาด
    18 ก.ค. 2568 20.02 น.
  • GULF ออกหุ้นกู้ครั้งแรกภายใต้บริษัทใหม่ อันดับเครดิตสูงที่ AA-
    18 ก.ค. 2568 19.44 น.
  • ปตท.สผ. คว้า 2 รางวัลเกียรติยศ Money & Banking Awards 2025
    18 ก.ค. 2568 16.36 น.
  • OR เปิดศูนย์การเรียนรู้ “Together รักษ์ แอท ท่าเสา” ขับเคลื่อนชุมชนด้วยพลังความร่วมมืออย่างยั่งยืน
    18 ก.ค. 2568 15.04 น.
  • OR ครองใจผู้บริโภค คว้า 5 รางวัล Marketeer No.1 Brand Thailand 2025
    17 ก.ค. 2568 15.15 น.

Most Viewed

  • "อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์" คว้าสุดยอดผู้นำองค์กรแห่งปี
    20 มิ.ย. 2566 21.47 น.
  • 54 ปี กฟผ. เดินหน้าผลิตไฟฟ้าสีเขียว รุกขยายโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดในเขื่อน
    01 พ.ค. 2566 09.50 น.
  • ‘ผลิต-ไฟฟ้าลาว’ มั่นใจผลงานปีนี้เติบโตเด่น รับดีมานด์ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าในภูมิภาคเพิ่ม
    03 พ.ค. 2566 13.56 น.
  • แม่ฮ่องสอน..สู่เมืองท่องเที่ยวสีเขียว ชู "โซลาร์ฟาร์มสมาร์ทกริด" พร้อมจ่ายไฟเชิงพาณิชย์แล้ววันนี้
    25 พ.ค. 2566 17.14 น.
  • 3 การไฟฟ้าจัดใหญ่ ครั้งแรกของโชว์สุดยอดนวัตกรรม ตอบโจทย์ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า
    12 มิ.ย. 2566 17.47 น.